Search
Close this search box.

เปิดนวัตกรรมการตรวจและรักษามะเร็งลำไส้ เพิ่มโอกาสรอดชีวิต

การตรวจ รักษา มะเร็งลำไส้

เปิดนวัตกรรมการตรวจและรักษามะเร็งลำไส้ เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิต | Advertorial โรคมะเร็งลำไส้เป็นหนึ่งในโรคร้ายที่คุกคามชีวิตคนไทยเป็นอย่างมาก จากข้อมูลสถิติของสถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ ระบุว่าในแต่ละปีมีคนไทยเสียชีวิตจากโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเฉลี่ยถึงปีละ 5,476 ราย และมีผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นกว่าปีละ 15,000 คน ตัวเลขนี้สะท้อนถึงความรุนแรงของโรคที่กำลังเป็นปัญหาสำคัญในสังคมไทย การป้องกันตนเองจากโรคมะเร็งลำไส้มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการตรวจวินิจฉัยโรคตั้งแต่ระยะต้นซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสในการรักษาให้หายขาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ เทคโนโลยีทางการแพทย์ในการวินิจฉัยและรักษามะเร็งลำไส้ยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาที่ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม วิธีการตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรคมะเร็งลำไส้แต่ละวิธีก็มีจุดเด่นและข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป วิธีการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ 1. การตรวจเลือด (Blood Test) แม้ว่าการตรวจเลือดจะไม่ได้เป็นวิธีการที่ใช้ในการตรวจหามะเร็งลำไส้โดยตรง แต่ก็สามารถเป็นวิธีการที่ใช้ในการตรวจสุขภาพเบื้องต้นได้ นอกจากนี้ การตรวจเลือดยังสามารถชี้ให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพที่อาจเกี่ยวข้องกับมะเร็งลำไส้ได้ เช่น การมีระดับเม็ดเลือดแดงต่ำอาจบ่งชี้ถึงมะเร็งลำไส้ และการตรวจหา Carcinoembryonic Antigen (CEA) ซึ่งเป็นโปรตีนที่มักพบในผู้ป่วยมะเร็ง อาจใช้เป็นตัวชี้วิดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้เช่นกัน 2. การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระ (Fecal Immunochemical Test หรือ FIT) การตรวจหาเม็ดเลือดแดงในอุจจาระเป็นวิธีการตรวจหามะเร็งลำไส้ที่สามารถทำได้ง่ายและปลอดภัย โดยผู้เข้ารับการตรวจสามารถเก็บตัวอย่างอุจจาระมาจากบ้านก่อนล่วงหน้าและนำส่งให้แพทย์เพื่อตรวจสอบได้ แต่ความแม่นยำในการวินิจฉัยโรคด้วยวิธีการนี้อาจน้อยกว่าเมื่อเทียบกับวิธีการอื่น และควรตรวจซ้ำทุกปีเพื่อความแม่นยำในการวินิจฉัย 3. การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Colonography) การตรวจโรคมะเร็งลำไส้ด้วยการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT […]