ทำไมคนไทยไม่ชอบทำประกัน

ทำไมคนไทยส่วนใหญ่ถึงเบือนหน้าหนีกับการทำประกัน

รู้หรือไม่? ประเทศไทยมีจำนวนการทำประกันหรือซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตน้อยกว่าประเทศอื่นอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่นที่เฉลี่ยแล้วคนญี่ปุ่น 1 คนจะมีกรมธรรม์ประกันชีวิต 3 ฉบับต่อคนเลยทีเดียว ซึ่งนับเป็นประเทศที่ทำประกันชีวิตมากที่สุดในโลก ส่วนในประเทศไทยพบว่า… คนไทย 1 คน มีค่าเฉลี่ยถือกรมธรรม์ประกันชีวิตอยู่ที่ 0.25 ฉบับต่อคน ซึ่งส่วนใหญ่ซื้อเพื่อใช้สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ตามมาด้วย อย่างการใช้ลดหย่อนภาษีนั่นเอง วันนี้ Thomas พาไปเปิดเหตุผลว่าทำไมคนไทยถึงไม่ชอบทำประกันต่าง ๆ

ประกันชีวิตที่ทุกคนเคยได้รับข้อเสนอ

การทำประกัน

เชื่อว่าหลายคนอาจจะเคยมีสายเรียกเข้าจากหมายเลขแปลกตาหรือจากสถาบันการเงินที่คุณเป็นลูกค้าอยู่ แล้วจะได้ข้อเสนอพิเศษถึงการทำประกันต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ และอื่น ๆ อีกมากมายเลยทีเดียว และส่วนใหญ่มักจะปฏิเสธข้อเสนอหรือยังไม่ค่อยสนใจที่จะตกลงทำประกันเสียเท่าไหร่ ทั้งที่จริงแล้วต่างก็รู้ถึงข้อดีของการทำประกันกันอยู่แล้ว ซึ่งจากสถิติข้อมูลของสมาคมประกันชีวิตไทย พบว่าครึ่งปี 2566 เฉลี่ยคนไทยจำนวน 100 คน จะทำประกันชีวิตไม่ถึง 40 คน หรือข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ ก็พบว่า เฉลี่ยคนไทยจำนวน 100 คน มีกรมธรรม์ไม่ถึง 40 ฉบับ หรือทำประกันไม่ถึงคนละ 1 ฉบับ หากเทียบกับสิงคโปร์แล้ว เฉลี่ยจำนวน 100 คน มีการถือครองกรมธรรม์ถึง 267 ฉบับ เฉลี่ยคนละ 2 ฉบับได้เลยทีเดียว ส่วนประเทศญี่ปุ่น เฉลี่ยจำนวน 100 คน ถือครองกรมธรรม์มากถึง 332 ฉบับ หรือเฉลี่ยคนละ 3 ฉบับ จะเห็นได้เลยว่า…คนไทยตัดสินใจทำประกันน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศรอบข้าง

การทำประกัน คืออะไร?

การทำประกัน คืออะไร?

ก่อนอื่นเรามาทำความเข้าใจกันว่า การทำประกันคืออะไร? เพราะการทำประกันนั้นมีหลากหลายความคุ้มครอง ทั้งประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุ ประกันสะสมทรัพย์ และอีกมากมายเลยทีเดียว

การทำประกันคือ การสร้างข้อตกลงระหว่างบุคคลหรือกับบริษัทประกันภัย โดยที่ผู้ทำประกัน (ผู้ถือกรมธรรม์) จะจ่ายเงินค่าประกันที่เรียกว่า ‘เบี้ยประกัน’ ให้กับบริษัทประกันภัย โดยบริษัทประกันภัยรับประกันว่าจะให้ความคุ้มครองในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ที่กำหนดไว้ในสัญญากรมธรรม์ เช่น อุบัติเหตุ การเสียชีวิต การรักษา/เจ็บป่วย หรือความเสียหายต่อทรัพย์สิน ตามแต่เงื่อนไขในกรมธรรม์ โดยบริษัทประกันภัยจะจ่ายเงินชดเชยให้กับผู้ทำประกันหรือผู้รับประโยชน์ตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์

ดังนั้น การทำประกันจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยลดความเสี่ยงทางการเงิน โดยเป็นการแบ่งปันความเสี่ยงกับบริษัทประกันภัย ซึ่งมีประโยชน์ในการปกป้องทรัพย์สิน การจัดการด้านการเงินและผลประโยชน์ในการใช้ลดหย่อนภาษี และคุณภาพความเป็นอยู่ของผู้ทำประกันในกรณีที่เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันขึ้น

ทำไมคนไทยไม่ชอบทำประกัน

เหตุผลที่คนไทยไม่ชอบทำประกัน

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังต้องการเริ่มต้นทำประกันสักฉบับ สิ่งสำคัญจะต้องทำความเข้าใจถึงการทำประกันเสียก่อนว่าประโยชน์ของการทำประกันที่เรามักเข้าใจผิดมีอะไรบ้าง

1. การทำประกันไม่ใช่เรื่องจำเป็นและเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้

การทำประกันชีวิต ประกันสุขภาพ หรือประกันความคุ้มครองอื่น ๆ หลายคนจะมองว่าทำไปอาจไม่คุ้ม เหมือนการซื้อสินค้าหรือบริการอื่น ๆ ที่เมื่อซื้อแล้วยิ่งใช้เยอะจะรู้สึกคุ้ม และมักไม่รู้ล่วงหน้าว่าจะได้ใช้เมื่อไหร่ ซึ่งการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต เราสามารถกำหนดได้ว่าต้องการจ่ายปีละเท่าไหร่เพื่อสร้างความคุ้มครองให้ตนเอง แต่เอาเข้าจริงแล้วไม่มีใครอยากได้ความคุ้มค่าจากการทำประกันอย่างแน่นอน

2. รายได้ไม่เพียงพอต่อการทำประกัน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าคนส่วนใหญ่มองว่าการทำประกันเป็นเรื่องสิ้นเปลือง จ่ายไปก็ไม่รู้จะได้ใช้เมื่อไหร่ แถมยังใช้เงินก้อนจำนวนมาก เอาไปใช้หมุนเวียนในชีวิตประจำวันก่อนดีกว่ายังไม่จำเป็นต้องทำก็ได้ ซึ่งมีผลการวิจัยในเรื่อง ‘ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกซื้อประกันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล’ ของ คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปี 2560 ระบุไว้ว่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีผลต่อการตัดสินใจทำประกัน หากเฉลี่ยรายได้ต่อเดือนน้อย ใช้เดือนชนเดือน อาจเป็นไปได้ยากที่จะมีโอกาสทำประกัน เนื่องจากเป็นการเพิ่มค่าใช้จ่ายระยะยาว

3. มีความกังวลถึงขั้นตอนการทำประกัน

ปัจจุบันมีรีวิวการทำประกันให้หาอ่านเพื่อศึกษาก่อนมากมาย หลายคนจึงอาจรู้สึกว่าบางบริษัทก็มีขั้นตอนมากมาย ยุ่งยากเรื่องเอกสารและเงื่อนไขความคุ้มครองต่าง ๆ ที่อ่านยากและยาวเป็นหลายหน้า โดยเฉพาะประกันสุขภาพที่เป็นกังวลถึงการตรวจสุขภาพก่อนอนุมัติกรมธรรม์ โรคที่เคยรักษามาก่อนหน้านี้จะคุ้มครองหรือไม่ ซึ่งรายละเอียดเหล่านี้สามารถสอบถามกับตัวแทนของแต่ละบริษัทได้เลย

4. ประสบการณ์ต่อบริษัทประกันหรือการทำประกัน

บางคนอาจจะมีประสบการณ์เชิงลบที่เคยเจอกับตัวเองหรือได้ยินมาจากการเล่าต่อปากต่อปากในทางไม่ดี จนกลายเป็นเรื่องจำฝังใจทำให้ไม่กล้าทำประกัน เช่น ติดต่อนาน เคลมยาก ถูกชักชวนให้ทำประกันไม่เราไม่ต้องการ หรือเคยเจอตัวแทนที่ให้ข้อมูลไม่ครบบอกรายละเอียดไม่หมด เหล่านี้อาจส่งผลให้รู้สึกไม่ไว้ใจจนไม่กล้าทำประกันอีกเลย

นอกจากนี้เหตุผลที่ทำให้คนไทยยังไม่ค่อยนิยมทำประกันยังมีอีกหลากหลายตามแต่ปัจเจกบุคคลและเศรษฐกิจที่ผันผวนก็ส่งผลการการตัดสินใจทำประกันอีกด้วย ที่สำคัญคือการคิดในแง่บวกว่าคงไม่มีเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับตัวเอง ไว้เกิดขึ้นค่อยแก้ก็ได้ ไม่ต้องถึงขั้นทำประกันก็น่าจะพอแล้ว

อย่างไรก็ดี การทำประกันเป็นสิ่งสำคัญกับทุกคน หากวางแผนการเงินให้สามารถลงทุนกับการทำประกันได้ นอกจากจะช่วยคุ้มครองความเสี่ยงให้เราและคนที่เรารักใช้ชีวิตต่อได้ไม่มีสะดุดแล้ว ยังวางแผนชีวิตทั้งปัจจุบันและอนาคตอย่างรอบคอบ เพราะเราไม่มีทางรู้ได้เลยว่าเหตุการณ์ไม่คาดฝันจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่นั่นเอง

SHARE

RELATED POSTS

รู้จักกองทุนรวม ทางเลือกของคนที่อยากเริ่มต้นลงทุนและมีเงินเก็บ มันดีกว่าฝากธนาคารยังไง เสี่ยงมากน้อยขนาดไหน…
มีบัตรเครดิตหลายใบแล้วรูดจนเพลิน ไม่รู้ว่าใช้อะไรไปบ้าง มาบันทึกการใช้เงินด้วยแอปรายรับรายจ่าย พร้อมสรุปผลและวางแผนเรื่องเงินได้ทันที…
ปฏิวัติการดื่มกาแฟในบ้านด้วยโมเดลธุรกิจของ Nespresso ที่กว่าจะประสบความสำเร็จนี้ต้องล้มเหลวมากี่ครั้งจนกลายเป็น Business…
ทำความรู้จักกับประกันชีวิตควบการลงทุน ให้คุณมีทั้งประกันภัยและได้ลงทุนไปพร้อมกัน โดยไม่ต้องมีประสบการณ์ เหมาะกับคนที่อยากสร้างความมั่นคงให้คนในครอบครัว…