โรคฝันกลางวัน อันตรายของการก้าวข้ามจินตนาการสู่การเพ้อฝัน

โรคฝันกลางวัน Maladaptive Daydreaming

โรคฝันกลางวัน อันตรายของการก้าวข้ามเส้นจินตนาการสู่การเพ้อฝัน เคยรู้สึกไหม? กับการติดอยู่กับความคิดบางอย่างที่พยายามจะลืมหรือสลัดออกจากหัวเท่าไหร่ก็ทำไม่ได้ จนทำให้ความคิดนั้นเริ่มแทรกซึมเข้าสู่ชีวิตประจำวันและแยกออกจากความเป็นจริงไม่ได้ นี่อาจเป็นสัญญาณของ ‘โรคฝันกลางวัน’ ซึ่งไม่ใช่เพียงแค่เรื่องสนุกสนาน แต่สามารถส่งผลกระทบต่อชีวิตจริงได้อย่างคาดไม่ถึง โรคฝันกลางวันคืออะไร โรคฝันกลางวัน หรือ Maladaptive Daydreaming คือภาวะที่ผู้ป่วยไม่สามารถแยกระหว่างโลกความจริงกับความฝันได้ จึงมักสูญเสียความเป็นตัวเองและไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ชั่วขณะ ซึ่งบางครั้งอาจกินเวลาหลายชั่วโมง โดยอาการจะปรากฏในช่วงที่ตื่นไม่ใช่ขณะนอนหลับ นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงเรียกโรคนี้ว่า โรคฝันกลางวัน หรือ Maladaptive Daydreaming ได้รับการนิยามขึ้นเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 2002 โดยเอลี โซเมอร์ (Eli Somer) นักจิตวิทยาคลินิกชาวอิสราเอล แต่ขณะนั้นยังไม่ได้รับการระบุลงในคู่มือการวินิจฉัยและสถิติการผิดปกติทางจิต ฉบับที่ 5 ( DSM-5 ) เนื่องจากยังไม่ทราบถึงสาเหตุการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่ดูเหมือนว่าโรคฝันกลางวันจะพบได้บ่อยในผู้ที่มีความวิตกกังวล ซึมเศร้า ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD) หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิต โดยปัจจุบันแพทย์ระบุว่าโรคฝันกลางวันอาจเกิดจากกลไกการป้องกันตัวของร่างกายหลังจากเผชิญเหตุการณ์สะเทือนใจ หรือมีความเครียด วิตกกังวล และถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าต่าง ๆ เช่น เสียง กลิ่น หรือบทสนทนาที่ทำให้นึกถึงเหตุการณ์เหล่านั้น จึงทำให้แสดงออกด้วยการไม่พูดคุยกับผู้คนรอบข้าง หรือละทิ้งสิ่งที่ทำ บางครั้งอาจแสดงพฤติกรรมหรือพูดตามตัวละครในจินตนาการโดยไม่รู้ตัว […]