Search
Close this search box.

เทียบชัด บ้านพักคนชรา VS บ้าน-คอนโดผู้สูงอายุ แตกต่างกันตรงไหน?

บ้านพักคนชรา VS บ้าน-คอนโดผู้สูงอายุ

เทียบชัด บ้านพักคนชรา VS บ้าน-คอนโดผู้สูงอายุ แตกต่างกันตรงไหน? ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged Society) แล้ว และที่สำคัญไปกว่านั้นคือในอนาคตปี 2583 จะมีสัดส่วนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นเป็น 1 ใน 3 ของประชากรทั้งหมด ซึ่งเป็นผลมาจากการที่ผู้คนเลือกที่จะโสดมากยิ่งขึ้น หันไปโฟกัสในการดูแลตัวเอง ทำให้ยังมีร่างกายแข็งแรง ต้องการทำกิจกรรมหรือเข้าสังคมยิ่งช่วงเกษียณที่มีอิสระมากขึ้น ดังนั้น เทรนด์การอยู่อาศัยสำหรับคนสูงวัยจึงต้องการ Facilities รองรับการทำกิจกรรมต่าง ๆ มากกว่าเดิม และปัจจุบันก็มีทั้งบ้าน-คอนโดที่สร้างขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์กับผู้สูงอายุ รวมถึงบ้านพักคนชราโฉมใหม่ที่ไม่ใช่บ้านพักคนชราแบบเดิม ๆ อีกด้วย วันนี้ Thomas Thailand พาไปส่องเทรนด์การอยู่อาศัยของวัยเกษียณ พร้อมเทียบชัดถึงความแตกต่างระหว่างบ้านพักคนชรา กับ บ้าน-คอนโดผู้สูงอายุ พร้อมแล้วไปกันเลย! ทำความรู้จัก บ้านพักคนชรา และ บ้าน-คอนโดผู้สูงอายุ การเลือกที่อยู่อาศัยให้ตอบโจทย์ความต้องการเฉพาะกลุ่มเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะกับสังคมสูงวัยที่ต้องการการใส่ใจและสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เหมาะสมและปลอดภัยต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากที่สุด ซึ่งรูปแบบที่อยู่อาศัยสำหรับผู้สูงอายุแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ ได้แก่ บ้านพักคนชรา และ บ้าน-คอนโดผู้สูงอายุ แต่ละประเภทจะมีลักษณะและการให้บริการที่แตกต่างกัน มาดูกันว่ารูปแบบไหนเหมาะกับผู้สูงวัยแบบใดบ้าง 1. […]

คู่มือวางแผนเกษียณ 101: การลงทุนเพื่อก้าวสู่สังคมสูงวัยอย่างมั่นคง | Advertorial

คู่มือวางแผนเกษียณ 101: การลงทุนเพื่อก้าวสู่สังคมสูงวัยอย่างมั่นคง | Advertorial ในยุคที่เทคโนโลยีทางการแพทย์ก้าวหน้า ประชากรส่วนใหญ่มีอายุขัยยืนยาวกว่าค่าเฉลี่ย ส่งผลให้ ‘สังคมสูงวัย (Aged Society)’ กลายเป็นรูปแบบสังคมใหม่ที่ทั่วโลกจับตามอง เมื่อเด็กเกิดน้อยกว่าคนแก่ แรงงานในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจึงน้อยลง ภาครัฐขาดแคลนเงินภาษีหมุนเวียนจากคนวัยทำงานจนกระทบกับการจัดเก็บรายได้ของประเทศ ก่อให้เกิดปัญหาต่อคุณภาพชีวิตและสวัสดิการคนชราที่กลายเป็นผู้อาศัยหลัก ‘การวางแผนเกษียณ’ จึงเป็นเรื่องที่ต้องรู้ เมื่อโลกเข้าสู่วิถีใหม่ การเตรียมตัวให้พร้อมกับสังคมสูงวัยจึงเป็นสิ่งจำเป็น สังคมสูงวัยคืออะไร? องค์กรสหประชาชาติ (United Nations) ได้นิยาม ‘สังคมสูงวัย’ ว่า เป็นกลุ่มประชากรที่ไม่สามารถใช้แรงงานเพื่อสร้างรายได้ยังชีพให้ตนเองได้ โดยกำหนดสัดส่วนจากประชากรอายุ 60-65 ปีขึ้นไป แบ่งได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้ สังคมสูงวัย (Aged Society) สังคมที่มีประชากรสูงวัยมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งหมด สังคมสูงวัยโดยสมบูรณ์ (Complete Aged Society) สังคมที่มีประชากรสูงวัยมากกว่าหรือเท่ากับ ร้อยละ 14 ของจำนวนประชากรทั้งหมด สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (Super Aged Society) สังคมที่มีประชากรสูงวัยมากกว่าหรือเท่ากับ […]