โอลิมปิกประจำปี 2020

โอลิมปิกประจำปี 2020
โตเกียวมาเหนือกับแนวคิดอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

ทราบหรือไม่ว่า ทุกครั้งที่มีการจัดเทศกาลกีฬาระดับโลก ได้สร้างผลกระทบให้กับสิ่งแวดล้อมในรูปแบบ ขยะ เอาไว้มากมากมาย มหกรรมกีฬา โอลิมปิกประจำปี 2020’ ที่จะจัดขึ้นในกรุงโตเกียวปีหน้า ญี่ปุ่นในฐานะเจ้าภาพจัดงานจึงให้ความสำคัญกับปัญหานี้ โดยออกนโยบาย อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นอีกหนึ่งกระบอกเสียง กระตุ้นให้ทั่วโลกตระหนักถึงวิกฤติสิ่งแวดล้อม

แนวคิดที่ทางผู้จัดงานยึดถือคือ การสร้างสรรค์ผลงานประดับมหกรรมกีฬายักษ์ใหญ่ระดับโลก โดยสร้างขยะ และลดการใช้ทรัพยากรที่ไม่จำเป็นให้ได้มากที่สุด งานนี้จึงส่งผลพลอยได้ไปถึงการกำจัดขยะและฟื้นฟูประเทศ หลังเสียหายเพราะผลกระทบจากภัยธรรมชาติอย่างสึนามิและแผ่นดินไหว สำหรับจุดเด่นที่ทั่วโลกให้ความสนใจคือ การนำนวัตกรรมรีไซเคิลขยะอิเล็กทรอนิกส์ มาประยุกต์ใช้กับสิ่งประดิษฐ์ที่ล้วนเป็นหน้าเป็นตาในงาน ซึ่งเป็นแนวคิดที่เจ้าภาพประเทศอื่นไม่เคยทำมาก่อน ไปดูกันว่าขยะที่ไม่มีประโยชน์ จะถูกเปลี่ยนมาเป็นของมีค่าในรูปแบบใดได้บ้าง

โตเกียวโอลิมปิก 2020 กับสิ่งประดิษฐ์รักษ์โลก

เหรียญรางวัลจากขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ล้นเมือง

ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ล้นเมืองเป็นปัญหาที่ทั่วโลกต่างกำลังเผชิญอยู่ โดยงานนี้ประเทศญี่ปุ่นสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างชาญฉลาด ด้วยการนำขยะดังกล่าวมาสร้างเป็นเหรียญรางวัล ทั้งเหรียญทอง เหรียญเงิน และเหรียญทองแดง เพื่อเตรียมไว้สำหรับมอบให้กับนักกีฬา รวมทั้งสิ้นจำนวน 5,000 เหรียญ โปรเจกต์นี้ได้รับความร่วมมือจากชาวญี่ปุ่นมากมาย ที่ร่วมกันบริจาคขยะอิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือ กล้องถ่ายรูป แท็ปเล็ต ฯลฯ ที่ไม่ใช้แล้ว
มาให้กับหน่วยงานที่รับผิดชอบเป็นจำนวนมาก

โอลิมปิกประจำปี 2020

แท่นโพเดียมและเครื่องแบบผู้จุดไฟคบเพลิงจากขวดพลาสติก

ขยะจากพลาสติกนับวันยิ่งทวีคูณจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ประเทศที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อมอย่างญี่ปุ่น จึงได้เริ่มพัฒนาโครงการ E-west ซึ่งเป็นโครงการที่รณรงค์ให้ชาวญี่ปุ่นลดการทิ้งขยะและพลาสติกอย่างจริงจัง โดยเตรียมความพร้อมด้วยเก็บรวบรวมขยะจากภาคครัวเรือน และในมหาสมุทร มาตั้งแต่วันที่ 13 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา และคาดว่าต้องรวบรวมขวดพลาสติกให้ได้มากถึง 45 ตัน นำมาสร้างเป็นแท่นโพเดียมสำหรับให้นักกีฬาใช้สำหรับยืนรอรับรางวัล ซึ่งงานนี้ต้องใช้จำนวนกว่า 100 แท่น อีกทั้งขวดพลาสติกยังถูกนำมาประดิษฐ์เป็นเครื่องแบบของผู้จุดไฟคบเพลิงในงานนี้อีกด้วย

แหล่งที่มาภาพ : https://www.youtube.com/watch?time_continue=31&v=WpKHAO07vJs

คบเพลิงดอกซากุระ…จากบ้านผู้ประสบภัยธรรมชาติ

หลายครั้งที่ญี่ปุ่นประสบกับภัยธรรมชาติ อย่างสึนามิ และแผ่นดินไหว ทุกครั้งหลังจากเหตุการณ์กลับสู่ภาวะปกติ มักทิ้งร่องรอยและซากปรักหักพัง ตลอดจนเศษอะลูมิเนียมที่ไม่สามารถย่อยสลายได้เองเป็นจำนวนมาก ดังนั้นญี่ปุ่นจึงเปลี่ยนวิกฤตมาเป็นโอกาส สานต่อนโยบายผ่านการจัดงานแข่งขันกีฬาโอลิมปิกครั้งนี้ โดยนำขยะอะลูมิเนียมจากบ้านของผู้ประสบภัยมาประดิษฐ์เป็นคบเพลิง พร้อมออกแบบเป็นรูปทรงดอกซากุระ สีโรสโกลด์ มีความยาว 71 เซนติเมตร และมีน้ำหนัก 1.2 กิโลกรัม ผลงานสุดสร้างสรรค์ถูกออกแบบโดย ‘โทคุจิน โยชิโอกะ (Tokujin Yoshioka)’ ศิลปินที่นำแรงบันดาลใจจากภาพวาดดอกซากุระของเด็กที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติในฟูกุชิมะ การออกแบบคบเพลิงครั้งนี้ยังได้นำเทคโนโลยีการผลิตรถไฟความเร็วสูงมาผสมผสานด้วย

โอลิมปิกประจำปี 2020

แหล่งที่มาภาพ : https://www.independent.co.uk/

ไม่เพียงสิ่งประดิษฐ์สุดครีเอต ญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับการจัดสรรงบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยอุปกรณ์ส่วนใหญ่ที่ใช้ในงานโอลิมปิกครั้งนี้ มาจากการยืมและเช่าจากประเทศเพื่อนบ้าน อีกทั้งตลอดการแข่งขันยังใช้พลังงานจากธรรมชาติทดแทนพลังงานสิ้นเปลือง โดยมีการนำพลังงานไฮโดรเจนมาผลิตไฟฟ้าใช้ในหมู่บ้านนักกีฬา และติดตั้งแผ่น
โซลาร์เซลล์ตามถนน เพื่อกักเก็บเป็นพลังงานไฟฟ้าไว้ใช้ในโอกาสต่อไป

กีฬาโอลิมปิกประจำปี 2020 ถือเป็นอีกหนึ่งต้นแบบในการจัดการแก้ไขปัญหาขยะอย่างสร้างสรรค์ และหากโปรเจกต์นี้กระตุ้นให้ทั่วโลกตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้นด้วย ก็นับเป็นสัญญาณที่ดีสำหรับโลกในอนาคต ที่สิ่งแวดล้อมจะกลับคืนสู่สภาวะที่สมดุลอีกครั้ง

SHARE

RELATED POSTS