เปิดคู่มือมือใหม่! สิ่งที่ต้องรู้ก่อนลงทุนในตราสารอนุพันธ์
ปัจจุบัน โลกแห่งการลงทุนมีทางเลือกมากมายสำหรับนักลงทุน หลายคนอาจจะคุ้นเคยกับหุ้น กองทุน หรือตราสารหนี้ ‘ตราสารอนุพันธ์’ ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่นักลงทุนจำนวนไม่น้อยให้ความสนใจ ด้วยจุดเด่นที่มีความยืดหยุ่นและเพิ่มโอกาสในการสร้างผลตอบแทนได้ แต่ก็มาพร้อมกับความเสี่ยงเช่นกัน บทความนี้เลยจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกันว่าตราสารอนุพันธ์คืออะไร และข้อมูลที่ควรรู้ก่อนตัดสินใจลงทุนอย่างมั่นใจ
ทำความเข้าใจตราสารอนุพันธ์คืออะไร
ตราสารอนุพันธ์ คือ ตราสารทางการเงินชนิดหนึ่งที่มูลค่าขึ้นอยู่กับสินทรัพย์อ้างอิง (Underlying Asset) ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1. Forward
ตราสารอนุพันธ์ชนิด Forward เป็นสัญญาในการซื้อขายสินค้าหรือทรัพย์สินทางการเงินที่มีการตกลงระหว่างคู่สัญญาทั้งสองฝ่าย โดยทั้งสองฝ่ายจะตกลงซื้อขายในราคาที่กำหนดไว้ล่วงหน้า และการซื้อขายจะเกิดขึ้นในอนาคต อย่างไรก็ตาม สัญญาอนุพันธ์แบบ Forward จะเป็นสัญญาที่มีความยืดหยุ่นและทำได้โดยตรงระหว่างคู่สัญญา แต่เนื่องจากเป็นสัญญาแบบไม่เป็นทางการที่ไม่มีหน่วยงานกลางรับรอง จึงทำให้มีความเสี่ยงต่อการผิดสัญญาสูง
2. Future
ตราสารอนุพันธ์ชนิด Future เป็นสัญญาตกลงซื้อขายที่คล้ายคลึงกับตราสารอนุพันธ์แบบ Forward แต่มีความเป็นทางการมากกว่า เนื่องจากมีสัญญาชัดเจนและมีหน่วยงานกลางในการควบคุม โดยในประเทศไทย บมจ.ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) หรือ TFEX เป็นผู้กำกับดูแลสัญญา และสำนักหักบัญชี (Clearing House) ทำหน้าที่รับประกันการทำตามสัญญา ด้วยการเรียกเก็บเงินประกันจากคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายเพื่อป้องกันความเสี่ยง หากมีฝ่ายใดไม่ทำตามสัญญา เงินประกันจะถูกยึดเพื่อนำไปชดเชยปัญหา นั่นจึงทำให้อนุพันธ์ชนิด Future เป็นตราสารอนุพันธ์ที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก
3. Option
ตราสารอนุพันธ์ชนิด Option เป็นสิทธิในการซื้อ (Call) หรือขาย (Put) สินทรัพย์ในอนาคตตามราคาที่กำหนดไว้ โดยผู้ได้สิทธิสามารถเลือกได้ว่าใช้สิทธิหรือไม่ เนื่องจากอนุพันธ์แบบ Option ไม่ใช่สัญญาจึงไม่มีข้อผูกมัด ทำให้ผู้ได้สิทธิไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม แต่หากไม่ใช้สิทธิในราคาและเวลาตามที่กำหนด จะต้องเสียเงินค่าซื้อสิทธิในตอนแรก หรือที่เรียกว่า Option Premium ซึ่งมีมูลค่าค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับมูลค่าการซื้อขาย ความยืดหยุ่นจึงทำให้อนุพันธ์ชนิด option กลายเป็นตราสารอนุพันธ์อีกหนึ่งชนิดที่ได้รับความนิยมสูง
4. Swap
เงินสดในอัตราคงที่ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งจะจ่ายกระแสเงินสดในอัตราลอยตัว หรือในบางกรณี อาจเป็นการแลกเปลี่ยนอัตราลอยตัวทั้งสองฝ่าย ทั้งนี้ อัตราลอยตัวจะอ้างอิงจากมูลค่าของสินทรัพย์ที่สัญญาผูกอยู่ โดยตราสารอนุพันธ์ชนิด Swap มักนิยมใช้ในภาคธุรกิจ โดยเฉพาะองค์กรที่ต้องการบริหารความเสี่ยงจากการลงทุนในต่างประเทศ
ปัจจุบัน หน่วยงานที่ควบคุมดูแลการซื้อตราสารอนุพันธ์ในไทยอย่าง บมจ.ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) หรือ TFEX ได้เปิดซื้อขายตราสารอนุพันธ์ 2 ประเภท คือ Future และ Option รวมถึง การซื้อขายอนุพันธ์ยังไม่สามารถดำเนินการผ่านบัญชีหุ้นได้ แต่ต้องเปิด ‘ปัญชีซื้อขายอนุพันธ์’ กับบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ที่เป็นบริษัทสมาชิกของ TFEX โดยเอกสารที่ใช้ประกอบการเปิดบัญชีซื้อขายล่วงหน้ากับ TFEX มีดังนี้
- สําเนาบัตรประจําตัวประชาชน 3 ชุด
- สําเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคาร ที่ต้องการให้ตัดบัญชี ATS 1 ชุด
- สําเนาหน้าสมุดบัญชีธนาคารไทยพาณิชย้ที่ต้องการให้ทํา SIPS 1 ชุด
- สําเนาใบแจ้งรายการบัญชีธนาคาร (Bank Statement) ย้อนหลังเฉลี่ย 3 เดือน ตามวงเงินที่ต้องการ ทั้งนี้ยอดเงินคงเหลือล่าสุดต้องไม่ต่ำกว่า 300,000 บาท 1 ชุด
- ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
ทำไมตราสารอนุพันธ์จึงเป็นที่จับจ้องของนักลงทุน
1. ทำกำไรได้ในทุกสภาวะตลาด
ตราสารอนุพันธ์ช่วยให้นักลงทุนสามารถทำกำไรจากการเคลื่อนไหวของราคาสินทรัพย์ไม่ว่าจะเป็นขาขึ้นหรือขาลง โดยสามารถเปิดสถานะขายล่วงหน้า (Short) หรือซื้อคืนทีหลัง (Long) ได้ตามต้องการ ทำให้มีโอกาสในการทำกำไรในทุกสภาวะตลาด ตราสารอนุพันธ์จึงเป็นที่นิยมชองนักลงทุนทั่วโลก
2. ช่วยป้องกันความเสี่ยง
ตราสารอนุพันธ์เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงสำหรับนักลงทุนหรือกองทุน เช่น การใช้ Provident Fund ที่ใช้ตราสารอนุพันธ์ Future หรือ Option ในการควบคุมราคาอ้างอิงล่วงหน้า ซึ่งจะช่วยให้มั่นใจว่าจะมีเงินจ่ายคืนตามกำหนดและลดความเสี่ยงจากการปรับตัวราคาสินทรัพย์ในตลาดที่ไม่แน่นอน
3. การมี Leverage
การซื้อขายตราสารอนุพันธ์ด้วยระบบ Margin โดยการวางเงินประกัน (Initial Margin) เพียง 5–25% ของมูลค่าสัญญา จะช่วยให้นักลงทุนเลียนแบบผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์โดนตรงได้ แต่หากคาดการณ์ผิดก็อาจทำให้ขาดทุนสูงได้ การที่ตราสารอนุพันธ์มี Leverage หรืออัตราทด จึงอาจเป็นดาบสองคมของนักลงทุน นักลงทุนควรศึกษาข้อมูลให้ดีและติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด ทั้งนี้ นักลงทุนควรกำหนดจุดตัดขาดทุนทุกครั้ง เพื่อจำกัดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
4. ค่าธุรกรรมถูก
เมื่อเทียบกับการซื้อขายหุ้น การทำธุรกรรมในตลาดตราสารอนุพันธ์ถูกกว่ามาก โดยค่าธรรมเนียม หรือ Commission สำหรับการทำธุรกรรมซื้อขายหุ้นอยู่ที่ 0.1% ในขณะที่ค่าธรรมเนียมในการซื้อขายอนุพันธ์อยู่ที่ประมาณ 0.03-0.05% เท่านั้น เมื่อเทียบเคียงกับหุ้นอ้างอิงตัวเดียวกัน
5. โอกาสเข้าถึงตลาดโลก
การเข้าถึงตลาดซื้อขายทองคำ โลหะเงิน และยางพาราในระดับโลกเป็นเรื่องยาก เนื่องจากข้อจำกัดในการโอนเงินข้ามประเทศที่ยังไม่มีข้อกฎหมายรองรับอย่างเหมาะสม การลงทุนในอนุพันธ์ Future ผ่าน TFEX ที่มีการอิงมูลค่าสินค้าดังกล่าว ทำให้นักลงทุนสามารถเข้าถึงสินค้าที่มีการซื้อขายในตลาดโลกได้อย่างสะดวกสบายมากขึ้น นอกจากนี้ ตราสารอนุพันธ์ยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยควบคุมต้นทุนของธุรกิจนำเข้าและส่งออกที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนได้อีกด้วย
ก่อนลงทุนตราสารอนุพันธ์ต้องรู้อะไรบ้าง
ก่อนที่จะตัดสินใจลงทุนในตราสารอนุพันธ์ นักลงทุนควรพิจารณาข้อมูลสำคัญหลายประการ เพื่อให้ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงในการลงทุน ดังนี้
1. ประเภทอนุพันธ์ที่ต้องการซื้อขาย
นักลงทุนควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับอนุพันธ์แต่ละประเภทซึ่งมีกลไกและจุดเด่นที่แตกต่างกัน แล้วจึงเลือกประเภทของอนุพันธ์ที่ตรงกับความต้องการหรือรูปแบบของการลงทุนของตนเอง
2. ระยะสัญญาของอนุพันธ์
การพิจารณาระยะเวลาของสัญญาอนุพันธ์เป็นอีกสิ่งสำคัญที่เหล่านักลงทุนไม่ควรมองข้าม เพราะแต่ละสัญญามีระยะเวลาที่แตกต่างกัน ทั้งระยะสั้นและระยะยาว นักลงทุนควรเลือกระยะเวลาที่เหมาะสมกับแผนการลงทุนและแนวโน้มตลาดในขณะนั้น
3. ราคาซื้อขายอนุพันธ์
ราคาซื้อขายอนุพันธ์ ทั้งราคาเปิดและราคาปิด มีผลเป็นอย่างยิ่งต่ออัตรากำไรและขาดทุนจากการลงทุน ทั้งนี้ นักลงทุนอาจจะต้องพิจารณาเงินประกันและค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมร่วมด้วย
4. จำนวนสัญญาอนุพันธ์ที่ต้องการซื้อขาย
นักลงทุนควรกำหนดจำนวนสัญญาที่จะซื้อขายให้เหมาะสมกับขนาดของพอร์ตการลงทุน โดยควรคำนึงถึงความสามารถในการรับความเสี่ยง และการจัดการกับความผันผวนของตลาด เพื่อรักษาสภาพคล่องทางการเงิน
การลงทุนในตราสารอนุพันธ์นับเป็นหนึ่งโอกาสที่ดีของนักลงทุนในการสร้างผลตอบแทน แต่ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยงที่ต้องคำนึงถึง โดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนมือใหม่ การศึกษาข้อมูลและความเข้าใจเกี่ยวกับตราสารอนุพันธ์เป็นสิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามก่อนเพื่อให้ลงทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพราะการเตรียมพร้อมที่ดีย่อมมีชัยไปกว่าครึ่ง