Search
Close this search box.
ประกันชีวิตควบการลงทุน

รู้จักกับ ประกันชีวิตควบการลงทุน
จ่าย 1 ได้มากกว่า 2

ประกันชีวิตควบการลงทุนคืออะไร

ประกันชีวิตควบการลงทุนหรือ Unit-Linked คือ การทำประกันชีวิตร่วมกับการลงทุนในกองทุนรวมพร้อมกัน โดยที่เราสามารถปรับสัดส่วนได้ว่าจะให้ความคุ้มครองหรือการลงทุนมากกว่า ทำให้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูงกว่าประกันโดยทั่วไป ซึ่งการทำประกันรูปแบบนี้เหมาะกับคนที่อยากส่งต่อความมั่นคงให้กับคนข้างหลัง และอยากลงทุนแต่ไม่มีความรู้

บริษัทประกันจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่ช่วยให้เราได้มีทั้งเงินคุ้มครองและกำไรจากการลงทุน โดยที่บริษัทจะเป็นคนเลือกกองทุนที่น่าสนใจไว้ให้ แต่ให้เราเลือกระดับความเสี่ยงเองว่าจะเอาแบบไหน ยิ่งเสี่ยงมากก็ได้เงินเยอะ แต่เราก็ต้องรับผิดชอบต่อความเสี่ยงนั้นเอง

วิธีการทำประกันชีวิตควบการลงทุน

วิธีทำประกันชีวิตควบการลงทุน

ในการทำประกันชีวิตควบการลงทุน ให้เราติดต่อกับบริษัทประกัน โดยจะกรอกข้อมูลไว้ในเว็บไซต์ของบริษัทแล้วรอเขาติดต่อกลับก็ได้ ซึ่งเรามีเว็บไซต์ของแต่ละบริษัทไว้ให้ด้านล่างนี้ หรืออาจโทรหาบริษัทประกันโดยตรง

เมื่อติดต่อกับเจ้าหน้าที่ได้แล้ว และปรึกษากันเสร็จว่าจะทำประกันนี้ บริษัทจะให้เราเลือกระดับความคุ้มครองว่าจะเอาเท่าไร จะจ่ายเบี้ยประกันให้บริษัทแบบครั้งเดียวหรือรายปี ซึ่งแต่ละบริษัทจะมีให้เลือกทุนประกันและเบี้ยประกันที่ต้องจ่ายในแต่ละปี และเบี้ยประกันที่จ่ายไปนี้ ส่วนหนึ่งจะไปอยู่ที่ความคุ้มครอง และส่วนที่เหลือจะไปอยู่ที่กองทุนรวม แล้วเราก็เลือกว่าเอาสัดส่วนไหนมากกว่า จะลงทุนในหุ้นไหน มีตั้งแต่ระดับความเสี่ยงต่ำ – สูง

เมื่อได้ทำข้อตกลงกับตัวแทนจนได้ประกันมา เราก็ทำหน้าที่ส่งเงินให้ นอกจากนี้ เราสามารถเพิ่ม / ลดความคุ้มครองและเบี้ยประกันได้ รวมถึงหยุดพักชำระเบี้ยหากประสบปัญหาทางการเงิน โดยที่ความคุ้มครองยังคงอยู่ เมื่อสถานการณ์ทางการเงินดีขึ้นค่อยมาจ่ายเบี้ยต่อ (ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัทว่าจะให้พักชำระเบี้ยกี่ปี)

ข้อดีของการทำประกันชีวิตควบการลงทุน

ข้อดีของการทำประกันชีวิตควบการลงทุน

จุดเด่นหลัก ๆ ของการทำประกันชีวิตควบการลงทุน คือ

1. วางแผนทุกอย่างจบได้ในกรมธรรม์เดียว

เป็นการวางแผนเผื่ออนาคตที่ดี ที่ได้ทำประกันและลงทุนไปพร้อม ๆ กัน ผลตอบแทนสูงกว่าการทำประกันทั่วไป หากอยากได้เงินส่วนจากการลงทุนมาก ก็ปรับสัดส่วนมาตรงนี้ให้มากหน่อย

2. เลือกระดับความเสี่ยงได้ตามที่ต้องการ

แต่ละกองทุนที่บริษัทนำมาให้เราเลือกจะถูกคัดสรรมาอย่างดีโดยผู้เชี่ยวชาญของบริษัทนั้น ๆ

ความเสี่ยงต่ำ : กองทุนรวมตราสารหนี้ กองทุนรวมตลาดเงิน

ความเสี่ยงปานกลาง : กองทุนรวมผสม

ความเสี่ยงสูง : กองทุนรวมหุ้น กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ

3. เสียชีวิตรับผลประโยชน์สูงสุด 120%

เมื่อไรที่เราเสียชีวิตก็จะได้เงิน 120% ของจำนวนเงินเอาประกัน หรือ 120% ของมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุน  ขึ้นอยู่กับว่าสัดส่วนไหนมากกว่า (แต่ละบริษัทจะให้ % แตกต่างกัน)

4. เบี้ยประกันนำไปลดหย่อนภาษีได้

5. มีโบนัสสำหรับการถือกรมธรรม์

บางบริษัทมีการให้โบนัสสำหรับการถือกรมธรรม์ เช่น SCB ไทยพานิชย์ จะให้โบนัส 0.5% ของเบี้ยประกันภัยหากจ่ายเบี้ยประกันครั้งเดียว แต่ถ้าเป็น iWealthy ของ krungthai-axa จะให้โบนัส 0.2% ของมูลค่ารับซื้อคืนหน่วยลงทุนเฉลี่ย 12 เดือนที่ผ่านมาตั้งแต่สิ้นปีที่ 6 เป็นต้นไปทุกปี ฯลฯ

ทำประกันชีวิตควบการลงทุนได้ที่ไหนบ้าง

ทำประกันชีวิตควบการลงทุนได้ที่ไหนบ้าง

โดยส่วนใหญ่ธนาคารหรือบริษัทประกันจะมีประกันชีวิตควบการลงทุนอยู่แล้ว แต่รายละเอียดของการทำประกันก็จะมีความแตกต่างกันเล็กน้อย ขึ้นอยู่กับว่าจะให้ประโยชน์ตรงส่วนไหนมากกว่า ซึ่งมีให้เลือกหลายบริษัทด้วยกัน ได้แก่

AIA ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.aia.co.th/th/our-products/unit-link

เมืองไทยประกันชีวิต ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.muangthai.co.th/product/detail/UniversalLife

Krungthai-axa ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.krungthai-axa.co.th/th/iwealthy

TMB ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.tmbbank.com/insurance/life-insurance/tmb-wealthy-link

SCB ไทยพานิชย์ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.scb.co.th/th/personal-banking/insurance/unit-linked

เห็นข้อมูลเบื้องต้นการทำประกันชีวิตควบการลงทุนไปแล้ว ก่อนตัดสินใจจะซื้อประกันควรศึกษารายละเอียดให้ดีก่อน แต่ถ้าไม่เข้าใจก็สอบถามจากตัวแทนประกันของแต่ละบริษัทก็ได้ ที่สำคัญอย่าลืมให้เขาช่วยคำนวณว่าเราจะได้ผลประโยชน์เท่าไร ต้องจ่ายยังไง แล้วจ่ายกี่ปี จะได้รู้ลิมิตของตัวเองว่าไหวไหม

SHARE

RELATED POSTS

ทำความรู้จัก Solana เครือข่ายบล็อกเชนที่มาแรงที่สุดในตอนนี้! ต้องยอมรับว่าปัจจุบันบล็อกเชนและคริปโทเคอร์เรนซีเป็นตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็วและมีความสำคัญมากขึ้นในระบบการเงินดิจิทัล…
ทำไมคนไทยส่วนใหญ่ถึงเบือนหน้าหนีกับการทำประกัน รู้หรือไม่? ประเทศไทยมีจำนวนการทำประกันหรือซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตน้อยกว่าประเทศอื่นอย่างมากเมื่อเทียบกับประเทศญี่ปุ่นที่เฉลี่ยแล้วคนญี่ปุ่น 1…